วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553


สภาพปัญหาและผลกระทบ
กรณีศึกษา โรงไฟฟ้าพลังความร้อน โดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
Problems and impacts : A case study of coal power plants

ชัยณรงค์ ธีระวิสุทธิ์
นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมมหาบัณฑิต สาขาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
E-mail : chainarong.t@egat.co.th

บทคัดย่อ
โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ ในจังหวัดลำปาง ประชาชนทั่วไปอาจยังเข้าใจว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินก่อมลภาวะ หรือโรงไฟฟ้าถ่านหินเต็มไปด้วยมลพิษ ปัจจุบันต้องแปลกใจในความบริสุทธิ์และสะอาดของอากาศรอบๆ โรงไฟฟ้า อากาศในโรงไฟฟ้าแม่เมาะได้เปลี่ยนแปลงไปจากปีแรกๆ ที่ทำการเปิดเหมือง หลังจากมีการควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ละอองน้ำฉีดพ่นน้ำเพื่อลดฝุ่นจากถนน และฉีดพ่นน้ำในระบบสายพานที่ใช้ขนถ่ายลิกไนต์ และยังปลูกต้นไม้เป็นแนวป้องกันฝุ่นจากเหมือง มีโรงบำบัดน้ำเสียจากเหมืองและโรงไฟฟ้า มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถนำมาช่วยแก้ไขปัญหาด้านขบวนการผลิต ด้านและสิ่งแวดล้อมได้

คำสำคัญ: โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ถ่านหิน มลภาวะ มลพิษ

Abstract
Mae Moh Power Plant is a huge coal power plant in Lumpang province. People may understand that coal power plants cause pollution or coal power plants are full of pollution. At present people must be surprise with air purity and cleanness around Mae Moh power plant. The air in Mae Moh power plant has change from very first year when the mine was opened. After the implementation of environmental impact control, dust suppression with water spray to decrease dust from the streets, water spraying at lignite conveyor belts, planting trees as mine dust prevention lines, wastewater treatment plant and applying new technology to solve manufacturing process and environmental issues.

Keyword: Mae Moh power plant, Coal, Pollution

1. บทนำ
พลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิต และเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของประเทศชาติ ดังนั้น ความมั่นคงทางพลังงานจึงหมายถึงความมั่นคงของชาติ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ความต้องการใช้พลังงานมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ผกผันกับแหล่งพลังงานสำรองที่นับวันจะยิ่งลดน้อยลง ซึ่งจากอัตราการใช้ในปัจจุบันคาดว่า น้ำมันสำรองของโลกเหลือใช้ได้อีกเพียง 40 ปี ก๊าซธรรมชาติเหลือใช้ประมาณ 60 ปี และถ่านหินเหลือใช้ประมาณ 150 ปี ซึ่งผลสืบเนื่องจากการใช้พลังงานก็คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาภาวะโลกร้อน ในระยะสั้นประเทศไทยยังคงมีความจำเป็นต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก แต่ขณะเดียวกันกระทรวงพลังงานก็มีนโยบายที่ชัดเจนในการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อชะลอความรุนแรงของปัญหาภาวะโลกร้อน โดยส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพแห่งชาติ จนเกิดเป็นแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15


2. สภาพปัญหา

2.1 การลดกำลังผลิตที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ
การลดกำลังผลิตที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งในช่วง 06:00-13:00 น. ในฤดูหนาวปี 2537-2538 ลงต่ำถึง 700 เมกกะวัตต์ เพื่อรักษาระดับคุณภาพอากาศไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้าน มีผลกระทบต่อระบบการผลิดเพราะจำเป็นต้องผลิดไฟฟ้าจากแหล่งผลิดไฟฟ้าจากแหล่งอื่น ๆ ในระบบ เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าให้เพียงพอ

2.2 มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศสำหรับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก่อนเกิดเหตการณ์มลภาวะอากาศแม่เมาะปี 2535
มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศสำหรับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก่อนเกิดเหตการณ์มลภาวะอากาศแม่เมาะปี 2535 ประเทศไทยไม่มีมาตรฐานช่วงสั้น ๆ คือค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมง มีแต่ค่าเฉลี่ย 1 วัน (300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และค่าเฉลี่ย 1 ปี (100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ต่อมากรมควบคุมมลพิษได้ให้ใช้ค่าเบื้องต้นเฉลี่ยน 1 ชั่วโมง 1,300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ชั่วคราว ซึ่งขณะนี้ได้กำหนดเป็นค่ามาตรฐานเฉลี่ย 1 ชั่วโมง สำหรับพื้นที่อำเภอแม่เมาะ ส่วนการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยกรมอนามัย (เริ่มทำการศึกษาวิจัยเดือนตุลาคม 2537) จะเป็นส่วนประกอบการพิจารณาปรับปรุงมาตรฐานในอนาคต

2.3 ปริมาณถ่านคุณภาพดี ที่มีเปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์เจือปนต่ำ
ปริมาณถ่านคุณภาพดี ที่มีเปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์เจือปนต่ำ ในบ่อเหมืองลิกไนต์แม่เมาะมีปริมาณน้อยและยากต่อการจัดการเพื่อนำมาใช้ในช่วงฤดูหนาว ขณะนี้ กฟผ. ได้ทำการแก้ไขโดยซื้อถ่านจากเหมืองเอกชนมาเสริมในฤดูหนาวปี 2537-2541 เป็นจำนวน 1,039,000 ตัน แต่มีขึดจำกัดที่การขนส่งโดยรถบรรทุกและถ่านจากเหมืองเอกชนมีค่าความแข็งสูง อาจจะมีปัญหากับเครื่องโม่และเครื่องบดได้

2.4 ราษฏรที่ได้รับผลกระทบไม่เชื่อข้อมูลของทางราชการ
ราษฏรที่ได้รับผลกระทบไม่เชื่อข้อมูลของทางราชการ เกี่ยวกับผลการพิสูจน์ความเสียหายเนื่องจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ต่อพืชและสัตว์ ตลอดจนการวินิจฉัยทางการแพทย์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยเนื่องมาจากสาเหตุของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำให้ชาวบ้านชุมนุมร้องเรียนในเดือนตุลาคม 2537 เพื่อให้ กฟผ. ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เสร็จโดยเร็ว และให้ กฟผ. รักษาพยาบาลฟรีแก่ชาวบ้านที่เจ็บป่วยเนื่องจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และโรคต่อเนื่องรวมทั้งจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหายต่อพืชและสัตว์ ในการดำเนินการแก้ไขปัญหารัฐบาลได้ตั้งคณะอนุกรรมการชดใช้ค่าเสียหายแก่ราษฏรที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ โดยมีรองผู้ว่างราชการจังหวัดลำปางเป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยตัวแทนหน่วยราชการ ตัวแทนชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวิฒิ และ กฟผ. มีหน้าที่ตรวจสอบและพิจารณาชดใช้ค่าเสียหายแก่ราษฏรที่ได้รับผลกระทบ
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ใน กทม. สูงกว่า แม่เมาะ

3. การดำเนินการแก้ไขปัญหา
3.1 กฟผ. ดำเนินการเอง
1) มาตรการระยะยาว
กฟผ. ได้ดำเนินการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา เพื่อควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการ ฯ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาดติ (สวล.) ในปี 2533 กฟผ. ได้วางแผนให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 12-13 มีระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulfurization System - FGD) โดยให้ดำเนินการก่อสร้างพร้อมกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2538 ขณะเดียวกันได้ศึกษาความเหมาะสมในการติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องอื่น ๆ ที่ได้เดินเครื่องจ่ายไฟเข้าระบบแล้ว ในปัจจุบันโรงไฟฟ้าแม่เมาะได้ติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ แล้วเสร็จสำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-13

2) มาตรการระยะสั้น
เนื่องจากการดำเนินการติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สำหรับโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 8-11 ซึ่งแล้วเสร็จในต้นปี 2541 ดังนั้นในระหว่างช่วงฤดูหนาวปี 2536 - 2540 กฟผ. ได้กำหนดมาตรการระยะสั้นเพื่อบรรเทาปัญหามิให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้าน ดังนี้
- ลดกำลังผลิตในช่วงสภาวะอากาศไม่อำนวย (ระหว่าง 01:00-12:00 น.ในปี 2536-2537 และระหว่าง 06:00-13:00 น. ในปี 2537-2540) ลงเหลือประมาณ 700-1,000 MW
- กำหนดการหยุดซ่อมแซมของโรงไฟฟ้าแม่เมาะให้ตรงกับช่วงฤดูหนาว
- สำรองใช้ถ่านลิกไนต์เปอร์เซนต์ซัลเฟอร์ต่ำ (น้อยกว่า 2 เปอร์เซ๊นต์ซัลเฟอร์) ใช้ในช่วงสภาะอากาศไม่อำนวยในฤดูหนาวปี 2536-2540 และหาถ่านลิกไนต์ เปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์ต่ำ (1 เปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์) จากแหล่งภายนอก (บริษัท ลานนาลิกไนต์ จำกัด, บริษัท บ้านปู จำกัด, บริษัท เหมืองเชียงม่วน จำกัด และ บริษัท ชัยธารินทร์ จำกัด) มาเสริมสำหรับฤดูหนาวปี 2537-2541
- ใช้น้ำมันดีเซลเปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์ต่ำ (0.5-0.6 เป็นเซ็นต์ซัลเฟอร์) เสริมในช่วงวิกฤติกรณที่พบว่าค่าความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ณ สถานีใดสถานีหนึ่งกำลังสูงขึ้น
- ปรับปรุงกระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศ ที่มีอยู่ให้เป็นระบบ Real time Air Quality Monitoring และเชื่อมดยงผลการตรวจวัด ให้สามารถอ่านค่าได้ที่ห้องควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า (จำนวน 8 สถานี ก่อนพฤศจิกายน 2537 และเพิ่มเป็น 12 สถานี หลังพฤศจิกายน 2537)
- ดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาคอมพิวเตอร์ ในขณะนี้มีสถานะตรวจวัดคุณภาพอากาศชนิดต่อเนื่อง 12 สภานี ส่วนระบบ Air Quality Warning System กำลังขอให้ AUSAID ดำเนินการ

3.2 การประสานงานและการดำเนินการร่วมกับหน่วยราชการต่าง ๆ
1) กรมควบคุมมลพิษ กับ กฟผ.
- กรมควบคุมมลพิษ ขอความช่วยเหลือทางวิชาการและผู้เชี่ยวชาญมา US Environment Protection Agency (USEPA) และ US Department of Energy (USDOE) มาตรวจสอบถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2535 โดยการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก US Agency for International Development (USAID) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้สรุปว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวะอากาศปิด ทำให้ควันจากปล่องไม่สามารถระบายสู่บรรยากาศชั้นบนได้ (Fumigation) พร้อมทั้งเห็นควรให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายไทยในเรื่องการตรวจสอบ audit เครื่องมือตรวจวัดการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับคาดการณ์คุณภาพอากาศ และให้เจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษและ กฟผ. ไปอบบรมที่ USEPA
- การพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สำหรับคาดการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่แม่เมาะ กรมควบคุมมลพิษ และ กฟผ. ร่วมกับ USEPA และ Nation Oceanic Atmospheric Administration (NOAA) โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก USAID และ กฟผ. ดำเนินการปรับปรุงและทดสอบแบบจำลองที่เหมาะสมกับพื้นที่แม่เมาะ โดยพิจารณากรณีการเกิด Fumigation ร่วมอยู่ในแบบจำลอง การศึกษาขึ้นต้นแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2537 และในปี 2538 กรมควบคุมมลพิษ และ กฟผ. จะดำเนินการต่อเนื่องจาก USEPA/NOAA ในการ Validate แบบจำลองดังกล่าวให้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น โดยมีงบประมาณสำรหับการดำเนินการจากกรมควลคุมมลพิษ 35 ล้านบาท และจาก กฟผ. อีกจำนวนหนึ่ง
- การพิจารณาแนวทางเลือก ในการควบคุมการระบายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากหน่วยผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 1-7 จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ดำเนินการศึกษาโครงการ "Development of System Wide Emission Control Strategies Application to Mae Moh Power Plants" โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 แล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2537

2) กรมอนามัย กับ กฟผ. และกรมควบคุมมลพิษ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยความช่วยเหลือของ USEPA และวิทยาลัยสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ความร่วมมือของ กฟผ. และกรมควบคุมมลพิษ ได้จัดทำแผนและรายละเอียดผลกระทบของมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะต่อสุขภาพอนามัย โครงการมีระยะเวลา 5 ปี เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2537 ใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ 31 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นเงินสนับสนุนจาก กฟผ. 14.5 ล้านบาท ในช่วง 2 ปีแรก ส่วน 3 ปีหลัง กรมอนามัยจะตั้งงบประมาณดำเนินการเอง

3) กรมวิชาการเกษตร กับ กฟผ.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องผลกระทบของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่มีผลต่อพืชและสภาพดินและน้ำ และการใช้ประโยชน์ของยิปซัมและขึ้เถ้าจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะเพื่อการเกษตร โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2537เป็นระยะเวลา 3 ปี ใช้งบประมาณทั้งหมด 3.335 ล้านบาท โดยใน 2 ปีแร กฟผ. สนับสนุนด้านงบประมาณ เป็นเงิน 2.57 ล้านบาท ส่วนในปีสุดท้าย จะใช้งบของกรมวิชาการเกษตร

4. สรุป
โรงไฟฟ้าแม่เมาะได้รับการกล่าวขานทั่วประเทศเมื่อมีรายงานข่าวเรื่องราษฎรได้รับผลกระทบจากการระบายไอเสียจากการเผาไหม้ของถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า มีการกล่าวอ้างว่าผู้คนเจ็บป่วย ผลผลิตจากต้นไม้เสียหาย แหล่งน้ำเสื่อมคุณภาพ มลภาวะเหล่านี้กฟผ.ได้ตระหนักถึงการป้องกันก็ได้มีแผนการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทีอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ น้ำและดิน และความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นสำคัญ จนในปัจจุบันสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้จนเป็นที่กล่าวขวัญและได้รับการรับรองที่สามารถพิสูจน์ได้ จากข้อมูลทางเทคนิค และตามข้อกฎหมายจากกรมควบคุมมลพิษ

กิตติกรรมประกาศ
การศึกษาผลงานในครั้งนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับสภาพปัญหาและผลกระทบ รวมทั้งการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องจากการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ความร้อนจากถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านที่ได้ให้คำปรึกษาแนะนำผลงานในครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

เอกสารอ้างอิง
[1] ชมรมนักเขียน กฟผ., 2549. แม่เมาะวันนี้ต่างจากวันวาน
[2] ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา, 2553. อภิปราย วสท
[3] http://maemoh.egat.com/index_maemoh/index.php?content=environment
[4] คุณพลฤทธิ์ เศรษฐกำเนิด, 2553. บรรยายสรุปโรงไฟฟ้าแม่เมาะ

ประวัติผู้เขียน
นายชัยณรงค์ ธีระวิสุทธิ์
นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมมหาบัณฑิต สาขาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง